วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

7.ประเภทของคอมพิวเตอร์



ประเภทคอมพิวเตอร์





1. เซิร์ฟเวอร์ ( server) หรือ เครื่องบริการหรือ เครื่องแม่ข่าย คือ เครื่องหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำงานให้บริการ ในระบบเครือข่ายแก่ลูกข่าย (ซึ่งให้บริการผู้ใช้อีกทีหนึ่ง) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์นี้ควรจะมีประสิทธิภาพสูง มีความเสถียร สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ได้เป็นจำนวนมาก ภายในเซิร์ฟเวอร์ให้บริการได้ด้วยโปรแกรมบริการ ซึ่งทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการอีกชั้นหนึ่ง


 2.ไคลเอนต์ (Client) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอ บริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ไคลเอนต์ เป็นคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้แต่ละคนในระบบเครือข่าย
เครื่องไคลเอนต์สามารถแบ่งตามความสามารถได้ 2 ประเภท คือ


desktop-153893_640
  เทอร์มินัล (Terminal) เป็นอุปกรณ์ในระบบคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ในการรับและส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ  โดยระบบคอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลจากเทอร์มินัลแล้วจะทำการประมวลผลหรือไม่ก็ตามแต่เพื่อนำไปใช้ในระบบต่อไปโดยเทอร์มินัลจะมีอุปกรณ์ต่างๆด้วย  อย่างเช่น  เมาส์  คีย์บอร์ด  กล้อง  เครื่องอ่านบาร์โค้ด  จอภาพ  เครื่องพิมพ์  เป็นต้นโดยจะเชื่อมต่อผ่านสายข้อมูลชนิดต่างๆเข้ากับแม่ค่ายคอมพิวเตอร์  โดยเครื่องแม่ค่ายมักจะเป็น  มินิคอมพิวเตอร์  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์  ในแม่ค่ายเดียวกันนั้นจะมีเทอร์มินัลหลายเครื่องเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน  และสามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้อย่างรวดเร็ว  โดยการใช้งานจะเป็นไปตามความเหมาะสมประเภทของเทอร์มินัล
ประเภทของเทอร์มินัล
  1.   Dums Terminals  เป็นเทอร์มินัลที่ไม่สามารถประมวลผลได้ตัวเองหรือมีการประมวลผลได้น้อยมาก  มักต่อเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมให้ทำการประมวลผลแทนจึงต้องเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง   โดยมีการเรียกและทำการบันทึกเข้ากับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์
  2. Smart X Terminals หรือ X Terminals  มีความสามารถในการประมวลผลมีความสามารถเทียบเท่ากับไมโครคอมพิวเตอร์หรือจะใช้ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเทอร์มินัลได้  จึงสามารถเชื่อมได้หลายอุปกรณ์เช่น  เมาส์  เครื่องพิมพ์  จอภาพ  ไมค์  กล้อง  เป็นต้นสามารถทำงานได้หลายเครื่องในเวลาเดียวกันเนื่องประมวลผลได้เองจึงสามารถการใช้ทรัพยากรจากแม่ข่าย
  3. Telephone Terminals  เป็นเทอร์มินัลที่รับส่งข้อมูลเกี่ยวกับเสียง  อย่างเช่นโทรศัพท์ที่ใช้สื่อสารกัน  และได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ได้จึงสามารถรับส่งได้มากกว่าเสียงอย่างเช่นข้อมูลต่างๆ เช่น  ภาพ  ตัวอักษร
  4. ATM Terminal  เป็นเครื่อง  ATM  ที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับแม่ข่ายในระบบบัญชีธนาคารเพื่อทำการถอนและฝากเงิน  โดยจะต้องมีบัตรและรหัสผ่าเข้าในใช้งาน  เครื่องจะอ่านแถบแม่เหล็กที่อยู่บนบัตรเพื่อระบุตัวตนและทำการประมวลผลที่หน้าจอ  สามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้งานแทนเพื่อการส่งข้อมูลที่รวดเร็วและลดช่องทางการสื่อสารให้เล็กลง
  5. POS Terminal เป็นเทอร์มินัลที่ใช้ตามร้านค้าห้างสรรพสินค้า  โดยจะมีอุปกรณ์ในการอ่านบาร์โค้ดสินค้ามีหน้าจอขนาดเล็กและเครื่องพิมพ์ใบเสร็จ  โดยข้อมูลจะถูกส่งไปยังแม่ข่ายเพื่อตรวจสอบ  ราคา  ส่วนลด  ในรายการสินค้าชิดนั้น
ปัจจุบันได้นำไมโครคอมพิวเตอร์มาเป็นเทอร์มินัลเป็นส่วนมากในองค์กรต่างๆ  เพราะมีประสิทธิภาพและลดการประมวลผลข้อมูลในแม่ข่ายสามารถใช้งานได้คล่องตัวมากขึ้น  และการเชื่อมต่อไม่ได้ใช้สายแต่เป็นไร้สายทำให้เครื่องย้ายหรือทำงานได้สะดวกด้วยเทอร์มินัลขนาดเล็ก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องเวิร์กสเตชัน

workstation (เวิร์กสเตชัน) เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้ส่วนบุคคล แต่เร็วและมีความสามารถมากกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มีแนวโน้มการใช้สำหรับธุรกิจและวิชาชีพ เวิร์กสเตชัน และการประยุกต์ออกแบบ สำหรับการใช้โดยบริษัทขนาดเล็กด้านวิศวกรรม, สถาปัตยกรรม, การออกแบบกราฟฟิก หรือส่วนบุคคลที่ต้องการไมโครโพรเซสเซอร์ที่เร็วกว่า มีขนาด RAM มาก และส่วนพิเศษอื่น ๆ เช่น graphics adapter ความเร็วสูง, ที่มาของการพัฒนาเทคโนโลยีเกิดขึ้น พร้อมกับระบบปฏิบัติการ UNIX และผู้ผลิตเครื่องเวิร์กสเตชันชั้นนำ ได้แก่ Sun Microsystems, Hewlett-Packard, DEC และ IBM

6.ระบบบัส

ระบบบัส (System Bus)


ในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว  และเป็นการพัฒนาไปในทางที่สวนกระแสกันด้วย  กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถมากขึ้น  ทำงานได้เร็วขึ้นกว่าสมัยแรกๆ มากแต่ราคากลับถูกลงมากเช่นกัน
การทำงานที่ดีขึ้นและเร็วขึ้นของคอมพิวเตอร์มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน  และส่วนหนึ่งที่ทำให้การสื่อสารภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น  ก็คือเส้นทางในการลำเลียงข้อมูลไปยังส่วนต่างๆ ระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง (CPU)  กับอุปกรณ์รอบข้างต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นหน่วยความจำหลัก (Main memory) หรือ อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์โดยตรง (I/O)  ซึ่งเส้นทางดังกล่าว ก็คือ ระบบบัส (System Bus) หรือที่เรามักเรียกกันสั้นๆ ว่า บัส

                ระบบบัส  เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร  และขนถ่ายข้อมูลระหว่างหน่วยประมวลผล (CPU)  กับอุปกรณ์อื่นๆ  โดยระบบบัสจะทำหน้าที่เป็นเส้นทางหลักของคอมพิวเตอร์ในการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ ไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เปรียบเสมือนเป็นถนนที่มีหลายช่องทางจราจร  ที่ยิ่งมีช่องทางจราจรมาก ก็ยิ่งระบายรถได้มากและหมดเร็ว  ซึ่งในหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) จะมีบัสต่างๆ ดังนี้

1.  บัสข้อมูล (DATA BUS)  เป็นบัสที่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ใช้เป็นเส้นทางผ่านในการควบคุมการส่งถ่ายข้อมูลจากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU)  ไปยังอุปกรณ์อุปกรณ์ภายนอกหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอก เพื่อทำการประมวลผลที่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
2.  บัสรองรับข้อมูล (ADDRESS BUS)  คือบัสที่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)  เลือกว่าจะส่งข้อมูลหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ไหนไปที่ใด  โดยจะต้องส่งสัญญาณเลือกออกมาทาง ADDRESS BUS
3.  บัสควบคุม (CONTROL BUS)  เป็นบัสที่รับสัญญาณการควบคุมจากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เพื่อบังคับว่าจะอ่านข้อมูลเข้ามา  หรือจะส่งข้อมูลออกไปจากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU)  โดยระบบภายนอกจะตอบรับต่อสัญญาณควบคุมนั้น

ภาพแสดงโครงสร้างของบัส


การออกแบบระบบบัส (System Bus)  ของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ได้รับการออกแบบให้ทำงานในรูปแบบของการแข่งขันเพื่อแย่งใช้ทรัพยากร  นั่นคือในเวลาหนึ่งๆ สามารถมีการแย่งเพื่อขอใช้บัสได้จากอุปกรณ์หลายๆ ตัว  แต่ทว่าจะมีเพียงอุปกรณ์หนึ่งตัวเท่านั้นที่สามารถใช้งานได้  ดังนั้น  ถ้ามีอุปกรณ์จำนวนมากเชื่อมต่อเข้ากับบัส  ก็จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของบัสลดต่ำลง  เนื่องจากจะทำให้บัสมีความยาวมากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้การสื่อสารในบัสใช้ระยะเวลาหน่วงนานมากขึ้น  และเมื่อมีความต้องการใช้งานบัสของอุปกรณ์ต่างๆ  เพิ่มมากขึ้นจนถึงจุดอิ่มตัวในการให้บริการของบัสแล้ว  ก็อาจจะส่งผลให้บัสเกิดปัญหากลายเป็นจุดคอขวดในการสื่อสารได้
ภาพแสดงระบบบัส


บัส  มีหน้าที่ในการขนส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์  ซึ่งก็คือสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้น BUS ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็คือ เส้นโลหะตัวนำสัญญาณไฟฟ้ามักเป็น "ทองแดง" ที่อยู่บนแผ่นวงจรพิมพ์ต่างๆ เช่น Mainboard เป็นต้น ที่เราเห็นเป็นลายเส้น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เป็นแถบๆ หลายๆ เส้นบ้าง หรือ เป็นเส้นเดี่ยวๆ บ้าง และ BUS มีการทำงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรจึงมักเรียกว่า "ระบบบัส" หรือ "BUS SYSTEM" จะนับขนาดข้อมูลที่วิ่งอยู่โดยจะมีหน่วยเป็นบิต ( bit ) บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์  บัสจะมีความกว้างหลายขนาดขึ้นอยู่กับรุ่นของคอมพิวเตอร์ เช่น บัสขนาด 8 บิต 16 บิต 32 บิต โดยปัจจุบันจะกว้าง 16 บัสยิ่งกว้างจะทำให้การส่งผ่านข้อมูลจะทำได้ครั้งละมากๆ  มีผลทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วตามไปด้วย เนื่องจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ในเมนบอร์ดต้องการความเร็วในการติดต่อแตกต่างกัน  ระบบบัสบนแผงวงจรหลักจึงแบ่งออกเป็นหลายชุด ดังนี้

1.  ระบบบัสแบบพีซีไอ (Peripheral Component Interconnect)
มีชิบเซ็ตเป็นตัวควบคุมโดยเฉพาะทำให้มีความเร็วในการติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ  ได้สูงขึ้น คือ 33 เมกะเฮิรตซ์  เป็นบัสแบบ 32 บิต  จึงมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลเท่ากับ 133 เมกะไบต์ต่อวินาที  ระบบบัสชนิดนี้จะใช้เชื่อมต่อกับสล็อตแบบ PCI (สล็อตที่มีสีขาวบนแผงวงจรหลัก ตามปกติจะมี 5-6 สล็อต) ซึ่งเป็นช่องอุปกรณ์ความเร็วสูงรองลงมาจากการ์ดแสดงผล ได้แก่ การ์ดเสียง โมเด็ม และการ์ดแลน (LAN)
ภาพระบบบัสแบบพีซีไอ

2.  ระบบบัสแบบเอจีพี (Accelerated Graphic  Port : AGP) 
เป็นระบบบัสความเร็วสูงพัฒนาเพื่อนำมาใช้กับการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่  เพื่อรองรับงานสื่อประสม            (multimedia)  ซึ่งบัสชนิดนี้จะเชื่อมต่ออยู่กับสล็อต AGP  สำหรับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาะตำแหน่งของสล็อตอยู่ใกล้กับหน่วยประมวลผลกลางที่สุดและแผงวงจรหลัก 1 แผง จะมีสล็อตแบบ AGP ได้เพียง 1 สล็อตเท่านั้น
 
ภาพระบบบัสแบบเอจีพี

3.  ระบบแบบพีซีไอเอกเพรส (Peripheral Component Interconnect Express:PCI Express)
เนื่องจากความต้องการอุปกรณ์ฮาร์ดเเวร์  ที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้นและระบบบัสแบบ PCI และAGP ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการนี้ได้อย่างเต็มที่  เนื่องจาก PCI มีความเร็วที่ต่ำไป ส่วน ARG ใช้ได้กับสล็อตการ์ดแสดงผลเพียงอย่างเดียวและมีได้1 สล็อตเท่านั้น  จึงได้มีการพัฒนาระบบบัสแบบใหม่ คือ PCI Express ขึ้นมา ซึ่งเป็นบัสที่มีความเร็วสูง และมีอัตรารับ-ส่งข้อมูลสูงขึ้น
 
ภาพระบบแบบพีซีไอเอกเพรส

การทำงานของ Bus
           
            เมื่อ Bus เป็นเส้นทางการขนส่งข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ดังนั้นจะมีวงจรสำหรับควบคุมการทำงานของระบบ Bus  (Bus Controller) ซึ่งในอดีตมี Chip IC ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรงแพร่ออกไป ในปัจจุบันได้มีการรวมวงจรควบคุม Bus นี้เข้าไว้ใน North Bridge Chip โดยที่วงจรควบคุมระบบ Bus นี่ทำหน้าที่จัดช่องสัญญาณประเภทต่างๆให้ทำงานรวมกันอย่างเป็นระบบบนเมมบอร์ด ให้กับอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน เช่น CPU อุปกรณ์ I/O Port ต่างๆ

            อีกชื่อหนึ่งของ Bus มีเรียกขานกันในเรื่องเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) โดยมีความหมายว่า เป็นสถาปัตยกรรมการต่อเชื่อมเครือข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่งโดยมีแนวเส้นหลัก ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็น “ถนนสายหลัก” ที่ใช้สำหรับเดินทาง or ขนส่งข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับระบบ Computer Network นี้  เป็นเสมือนหนึ่ง “บ้าน” ที่อยู่ในถนนย่อย ที่แยกออกมาจากถนนหลักโดยที่ ถนนย่อย ที่แยกออกมาแต่ละถนนนั้นจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ บ้าน เพียงครั้งเดียวอยู่ปลายถนนย่อยแต่ละเส้น โดยที่จุดแยกเข้าถนนย่อยนั้นจะมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ “แยกสัญญาณ”หรือ “พวงสัญญาณ” ที่เรียกว่า MAC (Media Access Commenter) เป็นตัวเชื่อมต่อและแผกสัญญาณไว้


            FSB (Front-side bus - FSB) คือ ช่องทางการสื่อสารข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมระหว่างโปรเซสเซอร์ (ซีพียู) กับหน่วยความจำหลัก หรือ แรม (RAM) ซึ่งมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ โดยเลขยิ่งสูง ข้อมูลยิ่งส่งกันได้เร็ว เปรียบเทียบได้กับถนนที่ให้รถวิ่ง ถ้ายิ่งมีช่องทางหรือเลนให้วิ่งมาก รถก็จะวิ่งได้มากขึ้น

บัสและความเร็วบัส
     การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วในการประมวลผลของ CPU เพียงอย่างเดียว เพราะคอมพิวเตอร์จะต้องรับ
ข้อมูลจากภายนอกมาประมวลผล และส่งข้อมูลออกไปแสดงผลภายนอกด้วย ดังนั้นอัตราการรับ/ส่งข้อมูลติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ I/O กับ CPU
ผ่านบัสที่รวดเร็วจะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างรวดเร็วด้วย
     ความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านบัส เป็นตัวจำกัดความเร็วในการติดต่อกับอุปกรณ์ I/O ถึงแม้จะใช้ CPU ที่มีความเร็วสูงก็ตาม เช่น ถ้าเราใช้ 
Pentium 166 MHz แต่ถ้าบัสมีความเร็วเพียง 66 MHz อัตราการติดต่อสื่อสารข้อมูลก็จะทำได้สูงสุดแค่เพียง 66 MHz เท่านั้น

การพัฒนาระบบบัส
     
            การพัฒนาระบบบัสนั้นได้เริ่มต้นมาจากระบบบัสแบบ ISA (Industry Standard Architecture) ที่มีขนาดบัสเท่ากับ 16 บิต มีความเร็ว 8 MHz
ในเวลาต่อมา บริษัท ไอบีเอ็ม ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM PS/2 ได้รับพัฒนาระบบบัสขึ้นมาใหม่ชื่อว่า MCA (MicroChannel Architecture)
โดยมีขนาด 32 บิต และได้เพิ่มความเร็วจาก 8 MHz เป็น 10 MHz
     แต่เนื่องจาก MCA ไม่สามารถใช้งานร่วมกับการ์ดรุ่นเก่าได้ จึงไม่ได้รับความนิยม และได้มีการพัฒนาระบบัสขึ้นมาใหม่คือแบบ EISA
(Extend Industry Standard) ซึ่งจะมีขนาด 32 บิตเท่ากับ MCA แต่สามารถใช้งานร่วมกับการ์ดในระบบบัส ISA แบบเดิมได้ แต่จะจำกัดความเร็ว
ให้ทำงานที่ 8 MHz
     เนื่องจากความเร็วบัสที่น้อย มีผลทำให้ความเร็วของคอมพิวเตอร์โดยรวมถูกจำกัดไปด้วย โดยเฉพาะการแสดงผลบนจดภาพที่ต้องการความเร็วใน
การส่งข้อมูลสูงจึงมีกลุ่มที่เรียกว่า VESA (Video Electronics Standard Association) เสนอระบบบัสที่มีการติดต่อระหว่าง CPU กับการ์ดแสดงผล
ได้โดยตรง ซึ่งจะทำให้มีความเร็วใกล้เคียงกับ CPU มากขึ้น ระบบนี้มีชื่อเรียกว่า VESA Iocal bus หรือ VL-bus (วีแอลบัส) มีขนาด 32 บิต สามารถ
ใช้กับการ์ดรุ่นเดิมที่ใช้กับระบบบัส ISA ได้
     ต่อมาบริษัทอินเทลได้เสนอระบบบัส PCI (Peripheral Connection Interface) มาแทนที่ VL-bus ที่เพิ่มความเร็วในการติดต่อระหว่าง CPU กับ
อุปกรณ์ต่างๆให้สูงขึ้น และสามารถยังใช้งานร่วมกับการ์ดที่เป็น 64 บิตได้ และปัจจุบันยังคงนิยมใช้บัส PCI กับเครื่อง Pentium และเครื่องจากค่ายอื่น
เช่น Apple PowerPC และ DEC Alpha
     แต่ PCI จะมีปัญหาคือ ยังไม่สามารถแสดงผลทางกราฟฟิกที่สนับสนุนกับความเร็วของ CPU ได้ดีพอ ดังนั้นบริษัทอินเทลได้พัฒนาให้มีระบบบัส
แบบ AGP (Advanced Graphic Port) สำหรับเร่งความเร็วในการแสดงผลกราฟฟิกให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับ CPU
ที่มีความเร็วสูงได้
โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส (Bus Network) 
                   คือลักษณะการเชื่อมต่อแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นยาวต่อเนื่องกันไปดังรูป โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนคือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิล ก็จะทำให้เครือข่ายรวนไปทั้งระบบ นอกจากนี้เมื่อมีการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่าย อาจต้องหยุดการใช้งานของระบบเครือข่ายก่อน เพื่อตัดต่อสายเข้าเครื่องใหม่ ส่วนข้อดีคือโครงสร้างแบบบัสนี้ไม่ต้องมีอุปกรณ์อย่าง Hub หรือ Switch ใช้เพียงเส้นเดียวก็สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก ปัจจุบันไม่ค่อยใช้กันแล้ว เนื่องจากไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มเติม ทำให้ความเร็วถูกจำกัดอยู่ที่ 10 Mbps และถูกทดแทนโดยการเชื่อมต่อแบบสตาร์  เครือข่ายแบบบัส  (bus  topology)     เป็นการต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของแต่ละสถานีออกจากสายสัญญาณหลัก (back  bone)  การส่งข้อมูลจะส่งผ่านสายสัญญาณหลักไปยังแต่ละสถานี หน้าที่ของบัสระบบบัส ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท กล่าวคือ 1. ADDRESS BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับแจ้งตำแหน่งหรือ ระบุตำแหน่งที่อยู่ ในระบบคอมพิวเตอร์ 2. CONTROL BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับส่งการควบคุม ไปยังส่วนต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ 3. DATA BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับการส่งข้อมูลไปยังตำแหน่งที่ระบุโดย Address bus และ ถูกควบคุม    โดย Control bus ระบบบัส และช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ (Bus & Slot)         บัสเป็นทางเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งที่อยู่บนเมนบอร์ดและที่ติดตั้งเพิ่มเข้ามา ตั้งแต่ ซีพียู, หน่วยความจำ, แคช, ฮาร์ดดิสก์, สล๊อตต่างๆ และจอภาพ เป็นต้น ดังนั้น ความเร็วและประสิทธิภาพในการทำงานของบัสจึงมีผลอย่างมากกับประสิทธิภาพโดย รวมของคอมพิวเตอร์          ระบบบัสที่เหมาะสมจะต้องมีความเร็วเพียงพอที่จะให้อุปกรณ์ต่างๆ รับส่งข้อมูลระหว่างกันได้เต็มความเร็วของอุปกรณ์นั้นๆ เพื่อไม่ให้เป็นตัวถ่วงอุปกรณ์อื่นๆ อันจะทำให้ความเร็วโดยรวมของทั้งเครื่องลดลง         โครงสร้างของระบบบัสของเครื่องคอมพิวเตอร์มีความสลับซับซ้อน ทั้งนี้เนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ การ์ดแสดงผล และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ได้ถูกพัฒนาให้มีความเร็วเพิ่มขึ้น จึงทำให้ต้องพัฒนาชิปเซ็ตและระบบบัสต่างๆ ตามไปด้วย       ระบบบัสและสล๊อตต่างๆ มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกันอย่างไร?    3.1 บัสและซ็อคเก็ตของซีพียู     บัสที่สำคัญที่สุด คือ บัสที่ใช้เชื่อมต่อกับซีพียู เรียกว่า Front Side Bus (FSB) ซึ่งเป็นบัสที่ต้องทำงานด้วยความถี่สูงสุดภายนอกของซีพียู เช่น 100, 133, 166, 200 และ 266 MHz เป็นต้น เนื่องจากเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างซีพียู (ซึ่งติดตั้งอยู่กับซ็อคเก็ตของซีพียู) กับชิปเซ็ตตัวหลัก      3.2 บัสและสล็อตของอุปกรณ์ความเร็วสูง          สล็อตของอุปกรณ์ความเร็วสูง เช่น PCI, AGP และ PCI Express เป็นต้น PCI (Peripheral Component Interconnect) และ PCI-X (PCI Extended)         บัส PCI เป็นบัสความเร็วค่อนข้างสูง ใช้เชื่อมต่อระหว่างชิปเซ็ตกับอุปกรณ์ความเร็วรองลงมา เช่น การ์ดเสียง, การ์ดโมเด็ม, การ์ดแลน เป็นต้น มาตรฐานของบัส PCI ปัจจุบันจะมีความกว้างบัส 32 บิต และ 64 บิต ซึ่งบัสแบบ 64 บิตนี้จะเรียกว่า PCI-X       AGP (Accelerated Graphic Port)             AGP เป็นพัฒนาการที่ต่อจากบัส PCI โดยทำงานที่ความถี่ 66 MHz บัส AGP นี้ถูกออกแบบมาสำหรับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีการส่งข้อมูลมากที่สุด และจำเป็นต้องส่งผ่านข้อมูลให้ได้เร็วที่สุด เพราะจะมีผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีข้อจำกัดคือ เมนบอร์ดส่วนใหญ่จะมีสล็อต AGP อยู่เพียงสล็อตเดียวเท่านั้น แต่สำหรับมาตรฐานของระบบบัสอย่าง PCI Express จะสามารถมีได้มากกว่า 1 ช่องบนเมนบอร์ดเดียวกัน PCI Express             PCI Express นั้นเป็นบัสที่ทำงานแบบ Serial และสามารถเลือกใช้ความเร็วมากน้อยตามต้องการได้ โดยแบ่งออกเป็นช่องสัญญาณ (channel) หรือ lane ของ PCI ซึ่งจะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลแต่ละทิศทาง 250 MB/sec และรวมสองทาง (Full-Duplex) สูงถึง 500 MB/sec ซึ่งขั้นต่ำสุดเรียกว่า PCI Express x1 ถูกออกแบบให้มาแทนที่ PCI Bus แบบเดิม ประกอบด้วย 1 lane สล็อตก็จะสั้นหน่อย ส่วนขั้นถัดไปจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2, 4, 8 และ 16 เท่าตามลำดับ ก็จะประกอบด้วย 2, 4, 8 และ 16 lane ที่รับส่งข้อมูลพร้อมกัน สล็อตก็จะยาวขึ้น (มีขั้วต่อมากขึ้น) เรียกว่าเป็น PCI Express x2, x4, x8 และสูงสุดคือ PCI Express x16 ที่เร็วถึง 8 GB/sec ซึ่งจะมาแทนที่สล็อตแบบ AGP 8x ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน  นอกจากนี้ด้วยข้อจำกัดที่มีมานานของเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะสามารถมีสล็อต AGP ได้เพียงสล็อตเดียวเท่านั้น แต่สำหรับมาตรฐานใหม่อย่าง PCI Express x16 ที่จะมาแทนที่สล็อต AGP แบบเดิมนั้นจะสามารถมีได้มากกว่า 1 ช่องบนเมนบอร์ดเดียวกัน      4. BIOS (Basic Input/Output System)             BIOS คือ ชิปที่ถูกติดตั้งมาบนเมนบอร์ดจากโรงงาน ภายในบรรจุโปรแกรมหรือชุดคำสั่งขนาดเล็กสำหรับควบคุมการทำงานขั้นพื้นฐาน เช่น การทำกระบวนการ POST (Power-On Self Test) ของเครื่อง รวมทั้งโปรแกรมที่ใช้ตั้งค่าการทำงานให้กับเครื่อง ที่เรียกว่า BIOS หรือ CMOS Setup ที่จะบันทึกข้อมูลและค่าต่างๆ ไว้ใน ชิปหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า ซีมอส (CMOS) ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่กินไฟน้อย และเก็บข้อมูลได้โดยใช้แบตเตอรี่ที่อยู่บนเมนบอร์ด ซึ่งจะคอยจ่ายไฟเลี้ยงให้ตลอดเวลาแม้ในขณะที่ปิดเครื่อง ถ้าแบตเตอรี่ก้อนนี้หมดหรือถูกถอดออก ค่าที่ตั้งไว้ก็จะหายและกลับไปใช้ค่าเริ่มต้นแทน  
    5. ขั้วต่อและพอร์ตต่างๆ
  การทำงานของบัส
การทำงานหลักๆ ของบัสประกอบด้วยสองขั้นตอนคือการส่งแอดเดรสและการรับหรือส่งข้อมูล นิยามจากการทำงานที่กระทำกับหน่วยความจำ คือ ขั้นตอนการอ่านจะทำการส่งข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังหน่วยประมวลผลและอุปกรณ์ I/O อื่นๆ และขั้นตอนการเขียน จะทำการเขียนข้อมูลลงบนหน่วยความจำ เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนเราจะเรียกว่า output และ input ตามลำดับ ซึ่งเป็นการอ้างอิงจากการทำงานของหน่วยประมวลผล กล่าวคือ input จะหมายถึงกระบวนการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ I/O ต่างๆ ไปยังหน่วยความจำที่ซึ่งหน่วยประมวลผลสามารถอ่านได้ และ output จะหมายถึงกระบวนการส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ต่างๆ จากหน่วยความจำที่ซึ่งหน่วยประมวลผลสามารถเขียนได้ ข้อดีของเครือข่ายแบบบัส       
 1. ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสายส่งสัญญาณ        
2. ติดตั้งสะดวก  ง่าย       
 3. สามารถติดตั้งสถานีเพิ่มได้ง่าย        
4. อัตราเร็วในการส่งข้อมูลสูง ( 10 Mbps)
 ข้อเสียของเครือข่ายแบบบัส       
 1. ติดตามข้อผิดพลาดได้ยาก       
 2. ควบคุมการทำงานได้ยาก      
  3. ถ้าสายส่งสัญญาณหลักเสียหาย  ระบบเครือข่ายจะไม่สามารถทำงานได้

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

5.ผู้จัดทำ



ผู้จัดทำ 


นางสาว นิตธิดา  บัวงาม


ชั้น ม.4/1   เลขที่ 9



วิชา คอมพิวเตอร์  ภาคเรียนที่2/2559


ครูผู้สอน นายปัณณวิชย์  ธนกรไพโรจน์


โรงเรียนบ้านกันทรารมย์

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

4.ตัวกลางการสื่อสารข้อมูล

ตัวกลางการสื่อสารข้อมูล


m       สื่อ หรือตัวกลางการสื่อสารข้อมูล (communication media) ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของการสื่อสารข้อมูล เพราะการเลือกใช้สื่อที่เหมะสม ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูลและประหยัดต้นทุน ตัวกลางหรือสื่อที่ใช้ในการสื่อสารแบ่งได้เป็น 2 ประเทใหญ่ๆ ดังนี้


 สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย
      
      สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย (wired media) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า guided media ซึ่งก็คือ สื่อที่สามารถบังคับให้สัญญาณข้อมูลเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่กำหนดได้ แบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้

1.สายคู่บิดเกลียว (twisted pair cable)
        ลักษณะทางกายภาพ : สายคู่บิดเกลีบวเป็นสายสัญญาณไฟฟ้านำข้อมูลได้ทั้งแอนะล็อกและดิจิทัล ลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป ราคาไม่แพงมาก น้ำหนัหเบา ติดตั้งได้ง่าย ภายในสายคู่บิดเกลียวจะประกอบด้วยสายทองแดงพันกันเป็นเกลียว เป็นคู่ๆ ซึ้งอาจจะมี 2,4 หรือ 6 คู่ สายคู่บิดเกลียวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
   แบบไม่มีชั้นโลหะห่อหุ้ม เรียกว่า unshielded twisted pair หรือเรียกย่อๆว่า สาย usp
   * แบบมีชั้นโลหะห่อหุ้ม เรียกว่า shielded twisted pair หรือเรียกย่อๆว่า stp ซึ่งภายในสายมีโลหะห่อหุ้มอีกชั้น โลหะจะทำหน้าที่ป้องกันสัญญาณรบกวนที่มา
จากภายนอก
        คุณสมบัติ : เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวประกอบด้วยสายทองแดงพันเป็นเกลียว การพันกันเป็นเกลียวทำเพื่อรบการรบกวนจากสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงในสายเคบิลเดียวกันหรือภายนอกลงได้
        ความถี่ในการส่งข้อมูล : 100 เฮิรตซ์ (Hz) ถึง 5 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)
        ความเร็วในการส่งข้อมูล : 1 ล้านบิตต่อวินาที (Mbps)





















2.สายโคแอกเชียล (coaxial cable)
       
      ลักษณะทางกายภาพ : สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณไฟฟ้านำข้อมูลได้ทั้งแอนะล็อกและ
ดิจิทัลเช่นเดียวกับสายคู่บิดเกลียว ลักษณะคล้ายสายเคเบิคทีวี โดยภายในมีตัวนำไฟฟ้าเป็นแกนกลางและห่อหุ้มด้วยฉนวนเป็นชั้นๆตัวนำโลหะทำหน้าที่ส่งสัญญาณ ส่วนฉนวนทำหน้าที่ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก
         คุณสมบัติ :  สายโคแอกเชียลมีฉนวนห่อหุ้มหลายชั้น ทำให้ป้องกันสัญญาณรบกวนได้มากกว่า
สายคู่บิดเกลียว ส่งข้อมูลได้ระยะทางไกล และมีช่วงความกว้างในการส่งข้อมูลมาก 
ทำให้ส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็ว มีราคาสูงกว่าสายคู่บิดเกลียว
         ความถี่ในการส่งข้อมูล : 100 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ถึง 500 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)
         ความเร็วในการส่งข้อมูล : 1 ล้านบิตต่อวินาที (Mbps) ถึง 1 พันล้านบิตต่อวินาที (Gbps)










3.สายใยแก้วนำแสง (optical fiber cable)
         
         ลักษณะทางกายภาพ : สายใยแก้วนำแสง ภายในสายประกอบด้วย แกนกลางทำจาก
ใยแก้วนำแสง ซึ่งเป็นท่อแก้วหรือท่อซิลิกาหลอมละลาย และห่อหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง 
สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง ดังนั้น ข้อมูลจะถูกแปลงเป็นเเสงที่มีความเข้มของ
แสงต่างระดับกัน เพื่อส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง
         คุณสมบัติ : เนื่องจากสายใยแก้วนำเเสงนำสัญญาณที่เป็นแสง ดังนั้นเเสงมีการเคลื่อนที่เร็วมาก
 การส่งข้อมูลผ่านสายใยแก้วนำเเสงจึงทำการส่งได้เร็วเท่ากับความเร็วแสง สิ่งรบกวนจากภายนอกมี
เพียงแสงเท่านั้น ดังนั้นสัญญาณรบกวนจากภายนอกจึงมีน้อยมาก แต่ราคาของสายใยแก้วนำแสงมี
ราคาสูง และการติดตั้งเดินสายทำได้ยากกว่าสายประเภทอื่นๆ ส่วนใหญ่การเดินสายจะเดินใส่ท่อลงใต้
ดินเพื่อป้องกันแสงรบกวน
         ความเร็วในการส่งข้อมูล : 10 ล้านบิตต่อวินาที (Mbps) ถึง 2 พันล้านบิตต่อวินาที (gbps)














สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย
          
           สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (wireless media) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ unguided media คือ สื่อที่ไม่สามารถกำหนดทิศทางให้ข้อมูลเดินทางไปในทิศทางที่ต้องการได้ อากาศเป็นสื่อหรือตัวกลางในการนำข้อมูลไปยังปลายทางชนิดหนึ่ง การสื่อสารโดยใช้อากาศเป็นตัวกลางมีลักษณะการสื่สาร 4 ประเภท ดังนี้


1.แสงอินฟราเรด
           การสื่อสารโดยการส่งด้วยแสงอินฟราเรด (infrared) จะใช้ในการสื่อสารระยะทางใกล้ๆ
 เช่น การใช้แสงอินฟราเรดจากเครื่องรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ 
การส่งข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือไปยังมือถือด้วยกันเอง หรือระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา
เนื่องจากแสงอินฟราเรดไม่สามารถทะลุผ่านวัตถุทึบแสงได้ ดังนั้นไมสามารถส่งข้อมูลในระยะทางไกล
ได้

















2.สัญญาณวิทยุ
            
       การสื่อสารข้อมูลโดยการส่งสัญญาณวิทยุ (radio wave) ที่มีความถี่ต่างๆกัน สามารถส่งไปได้ใน
ระยะทางไกลๆ หรือในสถานที่ที่ไม่สามารถใช้สายส่งได้ แต่เนื่องจากใช้อากาศเป็นตัวกลางในการ
สื่อสาร ดังนั้นเมื่อสภาพอากาศไม่ดี จึงมีผลต่อสัญญาณวิทยุที่ทำการส่งออกไป สัญญาณวิทยุมีหลาย
ความถี่ ซึ่งใช้ประโยชน์แตกต่างกัน เช่น สัญญาณที่ความถี่ 300 กิโลเฮิรตซ์ (KHz) -3 เมกะเฮิรตซ์ 
(MHz) ใช้ส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่อง 3,5,7,9 วิทยุสายการบิน เป็นต้น


























3.ระบบไมโครเวฟ
            ระบบไมโครเวฟ (microwave) เป็นการสื่อสารไร้สายโดยการส่งสัญญาณป็นคลื่นไมโครเวฟ
จากเสาไมโครเวฟต้นหนึ่งไปยังเสาไมโครเวฟที่ตั้งอยู่ในระยะทางที่ไกลออกไป เนื่องจากทิศทางการ
ส่งข้อมูลระหว่างเสาไมโครเวฟ 2 ต้น ส่งในทิศทางที่เป็นเส้นตรง หรือเรียกว่าระยะเส้นสายตา
 (line of sight) ดังนั้นถ้าระหว่างเส้นทางการส่งข้อมูลมีสิ่งกีดขวางก็จะไม่สามารถส่งสัญญาณได้ 
ดังนั้นจึงต้องมีการติดตั้งจานรับส่งเป็นสถานีทวนสัญญาณ (repeater station) เพื่อเป็นจุดส่งสัญญาณ
ต่อไปยังเสาไมโครเวฟต้นต่อไป ซึ่งเป็นลักษณะการสื่อสารแบบส่งสัญญาณต่อเนื่องเป็นช่วงๆไป 
โดยปกติคลื่นไมโครเวฟจะถูกส่งได้ไกลประมาณ 20-30 ไมล์ คลื่นไมโครเวฟ จะถูกรบกวนได้จาก
สภาพอากาศที่ไม่ดี เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เป็นต้น
             คลื่นไมโครเวฟมีความถี่สูงถึง 2 ล้านรอบ (MHz) ถึง 40 พันล้านรอบต่อวินาที (GHz) สามารถส่งข้อมูลได้ในปริมาณมากถึง 1 ล้านบิตต่อวินาที (Mbps) ถึง 10 พันล้านบิตต่อวินาที (Gbps)
              ข้อดีของการสื่อสารด้วยระบบไมโครเวฟ คือ สามารถทำการสื่อสารระยะทางไกลๆได้โดย
ไม่ต้องเดินสายให้ยุ่งยาก และสามารถส่งข้อมูลได้ในปริมารมาก แต่ข้อเสียคือ คลื่นไมโครเวฟถูกรบ
กวนได้ง่ายจากสภาพอากาศที่แปรปรวน และมีค่าติดตั้งเสาและจานรับและส่งที่มีราคาแพง
























4.การสื่อสารผ่านดาวเทียม
              เมื่อต้องการทำการสื่อสารในระยะทางที่ไกลออกไป การเชื่อมต่อโดยใช้สายเคเบิลไม
สามารถทำได้ การสื่อสารด้วยระบบไมโครเวฟก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากและทำการติดตั้งยาก 
ดังนั้นคำตอบของการสื่อสารในระยะทางไกลอีกวิธีหนึ่ง คือ การสื่อสารผ่านดาวเทียม
 (satellite communication) การสื่อสารดาวเทียม เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกไปสู่ดาวเทียม 
โดยบนพื้นโลกจะมีสถานีส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียมที่โคจรอยู่นอกโลก ซึ่งจะทำหน้าที่ทวน
สัญญาณและกระจายสัญญาณส่งกลับมายังสถานีรับบนพื้นโลก โดยจะทำการส่งดาวเทียมขึ้นไปอยู่
ห่างจากพื้นโลกประมาณ 22.000 ไมล์์ ด้วยระยะทางการส่งข้อมูลระหว่างโลกและดาวเทียมที่อยู่ไกล
กันมากทำการส่งข้อมูลมีความล่าช้า (dalay) การสื่อสารผ่านดาวเทียมเหมาะสมกับการสื่อสารระยะ
ไกลมากๆ เช่น การสื่อสารระหว่างประเทศ

3.รูปแบบของการถ่ายโอนข้อมูล

1.2รูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมูล

ประเภทของการถ่ายโอนข้อมูล

                การส่งสัญญาณข้อมูลแบ่งออกได้เป็น  2  ประเภทคือ  การส่งแบบขนานและแบบอนุกรม 
 
 -  การสื่อสารแบบขนาน (Parallel Transimission)
      การส่งแบบขนานนั้นจะทำการส่งข้อมูลทีละหลาย ๆ บิต  เช่น  ส่ง  10011110  ทั้ง  8 บิต                                                            ออกไปพร้อมกันโดยผ่านสายส่งข้อมูลที่มี  8  เส้น  ส่วนการส่งข้อมูลแบบอนุกรม  ข้อมูลจะถูกส่งออก ไปทีละบิตต่อเนื่องกัน       ไป  เช่นถ้าข้อมูลคือ  10011110  เลข 0  ทางขวามือสุดเป็นบิตที่  1  เรียงลำดับไปจนครบ  8 บิต                                         โดยการส่งนั้นจะใช้ส   เส้นเดียวเท่านั้น

                  
                 ข้อด   คือ สามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็ว เพราะส่งครั้งละ  8  บิท
                 ข้อเสีย    คือ ใช่ส่งแต่เฉพาะใกล้ ๆ เท่านั้น   ราคาแพง 



 -  การสื่อสารแบบอนุกรม  (Serial Tranmission)

ในการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลถูกส่งออกมาทีละบิต ระหว่างจุดส่งและจุดรับ จะเห็นว่าการส่งข้อมูลแบบนี้ช้ากว่าแบบขนาน ตัวกลางการสื่อสาร แบบอนุกรมต้องการเพียงช่องเดียวหรือสายเพียงคู่เดียว ค่าใช้จ่ายในสื่อกลางถูกกว่าแบบขนานสำหรับการส่งระยะทางไกล ๆ โดยเฉพาะเมื่อเรามีระบบการสื่อสาร ทางโทรศัพท์ไว้ใช้งานอยู่แล้วย่อมจะเป็นการประหยัดกว่าที่จะทำการติดต่อสื่อสารทีละ 8 ช่อง เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลแบบขนานอย่างแน่นอน
          การส่งข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลจากจุดส่งจะถูกเปลี่ยนให้เป็นอนุกรมเสียก่อนแล้วค่อยทยอยส่งออกทีละบิตไปยังจุดรับ ณ ที่จุดรับจะต้องมีกลไกในการ เปลี่ยนข้อมูลที่ส่งมาทีละบิต ให้เป็นสัญญาณแบบขนานที่ลงตัวพอดี นั่นคือ บิต 1 ลงที่บัสข้อมูลเส้นที่ 1 พอดี การที่จะทำให้ การแปลงสัญญารจากอนุกรม ทีละบิตให้ลงตัวพอดีนั้นจำเป็นจะต้องมีกลไกที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการรับ

2.ชนิดของสัญญาณข้อมูล

ชนิดของสัญญาณข้อมูล

       ข้อมูลอาจจะเป็นข้อความ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว ซึ่งไม่สามารถส่งไปในระยะทางไกลด้วยความเร็วสูง ดังนั้นข้อมูลจะต้องถูกแปลงเป็นสัญญาไฟฟ้าที่เรียกว่า สัญญาณข้อมูล (data signal) ทำให้สามารถส่งผ่านสื่อไปได้ในระยะทางไกลด้วยความเร็วสูง ข้อมูลจะถูกแปลงเป็นสัญญาณข้อมูลได้ 2 ประเภท ดังนี้


1.สัญญาณแอนะล็อก
        
          สัญญาณแอนะล็อก (analog signal) สามารถเขียนแทนได้ด้วยรูปกราฟคลื่อนไซน์ (sine wave) ลักษณะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง อธิบายรูปกราฟคลื่นไซต์ด้วยค่าความถี่ และระดับความเข้มของสัญญาณค่าความถี่ คือ จำนวนรอบของคลื่อนที่เคลื่อนที่ใน 1 วินาที หรือในเวลา 1 วินาที คลื่นเคลื่อนที่ได้กี่รอบนั่นเอง เช่น สถานีวิทยุ hotwave กระจายเสียงที่ความถี่ 91.5 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) หมายความว่า เสียงดีเจจากคลื่นวิทยุ hotwave จะถูกแปลงเป็นสัญญาณแอนะล็อก โดยใน 1 วินาที สามารถผลิตคลื่นให้มีสัญญาณ 91.5 ล้านรอบ ถ้าผู้รับต้องบการรับฟังเพลงจากสถานีวิทยุ hatwave ก็ต้องหมุนเครื่องรับวิทยุให้ตรงกับความถี่ที่สถานีส่งออกมานั่นเอง ข้อเสียของสัญญาณแบบแอนะล็อก คือ สัญญาณถูกรบกวนได้ง่าย ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการรับส่งข้อมูล เมื่อต้องส่งข้อมูลออกไปในระยะทางไกลระดับของสัญญาณจะอ่อนลง และมีสัญญาณรบกวน ดังนั้นจึงต้องมีเครื่งทวนสัญญาณ เพื่อเพิ่มระดับสัญญาณแส่งต่อไป ตัวอย่างของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ สัญญาณเสียงที่ส่งจากสถานีวิทยุ เป็นต้น












2.สัญญาณดิจิทัล
       
           สัญญาณดิจิทัล (digital signal) ลักษณะเป็นกราฟสี่เหลี่ยม (square graph) เป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปแบบของสัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ปะติดปะต่อ กล่าวคือ มีบางช่วงที่ระดับสัญญาณเป็น 0 การแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิทัลต้องทำการเเปลงข้อมูลให้ข้อมูลเป็นแบบดิจิทัลก่น นั่นคือต้องแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบเลขฐานสอง คือ 0 และ 1 แล้วทำการแปลงข้อมุลนั้นให้เป็นสัญญาณดิจิทัล ซึ่งสามารถแปลงได้หลายรูปแบบ เช่น แบบ unipolar แทนบิต 0 ด้วยระดับสัญญาณที่เป็นกลาง และบิต 1 ด้วยระดับสัญญาณเป็นบวก การส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิทัลมีคุณภาพดีกว่าแบบแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งในระยะทางที่ไกลออกไปจะต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณที่เรียกว่า รีพีตเตอรื (repeater) ซึ่งรีพีตเตอร์จะทำการกรองเอาสัญญาณรบกวนออกก่อนแล้วค่อยเพิ่มระดับสัญญาณ จากนั้นจึงส่งออกไป จะเห็นได้ว่าคุณภาพของสัญญาณที่ส่งออกไปจะใกล้เคียงของเดิมที่ส่งมา สัญญาณดิจิทัลมีหน่วยวัดความเร็วเป็นบิตต่อนาที หรือ bit per second (bps) หมายถึง จำนวนบิตที่ส่งได้ในช่วงเวลา 1 วินาที เช่น โมเด็มมีความเร็ว 56 kbps หมายความว่า โมเด็มสามารถผลิตสัญญาณดิจิทัลได้ประมาณ 56,000 บิตใน 1 วินาที