ชนิดของสัญญาณข้อมูล
ข้อมูลอาจจะเป็นข้อความ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว ซึ่งไม่สามารถส่งไปในระยะทางไกลด้วยความเร็วสูง ดังนั้นข้อมูลจะต้องถูกแปลงเป็นสัญญาไฟฟ้าที่เรียกว่า สัญญาณข้อมูล (data signal) ทำให้สามารถส่งผ่านสื่อไปได้ในระยะทางไกลด้วยความเร็วสูง ข้อมูลจะถูกแปลงเป็นสัญญาณข้อมูลได้ 2 ประเภท ดังนี้
1.สัญญาณแอนะล็อก
สัญญาณแอนะล็อก (analog signal) สามารถเขียนแทนได้ด้วยรูปกราฟคลื่อนไซน์ (sine wave) ลักษณะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง อธิบายรูปกราฟคลื่นไซต์ด้วยค่าความถี่ และระดับความเข้มของสัญญาณค่าความถี่ คือ จำนวนรอบของคลื่อนที่เคลื่อนที่ใน 1 วินาที หรือในเวลา 1 วินาที คลื่นเคลื่อนที่ได้กี่รอบนั่นเอง เช่น สถานีวิทยุ hotwave กระจายเสียงที่ความถี่ 91.5 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) หมายความว่า เสียงดีเจจากคลื่นวิทยุ hotwave จะถูกแปลงเป็นสัญญาณแอนะล็อก โดยใน 1 วินาที สามารถผลิตคลื่นให้มีสัญญาณ 91.5 ล้านรอบ ถ้าผู้รับต้องบการรับฟังเพลงจากสถานีวิทยุ hatwave ก็ต้องหมุนเครื่องรับวิทยุให้ตรงกับความถี่ที่สถานีส่งออกมานั่นเอง ข้อเสียของสัญญาณแบบแอนะล็อก คือ สัญญาณถูกรบกวนได้ง่าย ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการรับส่งข้อมูล เมื่อต้องส่งข้อมูลออกไปในระยะทางไกลระดับของสัญญาณจะอ่อนลง และมีสัญญาณรบกวน ดังนั้นจึงต้องมีเครื่งทวนสัญญาณ เพื่อเพิ่มระดับสัญญาณแส่งต่อไป ตัวอย่างของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ สัญญาณเสียงที่ส่งจากสถานีวิทยุ เป็นต้น
2.สัญญาณดิจิทัล
สัญญาณดิจิทัล (digital signal) ลักษณะเป็นกราฟสี่เหลี่ยม (square graph) เป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปแบบของสัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ปะติดปะต่อ กล่าวคือ มีบางช่วงที่ระดับสัญญาณเป็น 0 การแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิทัลต้องทำการเเปลงข้อมูลให้ข้อมูลเป็นแบบดิจิทัลก่น นั่นคือต้องแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบเลขฐานสอง คือ 0 และ 1 แล้วทำการแปลงข้อมุลนั้นให้เป็นสัญญาณดิจิทัล ซึ่งสามารถแปลงได้หลายรูปแบบ เช่น แบบ unipolar แทนบิต 0 ด้วยระดับสัญญาณที่เป็นกลาง และบิต 1 ด้วยระดับสัญญาณเป็นบวก การส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิทัลมีคุณภาพดีกว่าแบบแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งในระยะทางที่ไกลออกไปจะต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณที่เรียกว่า รีพีตเตอรื (repeater) ซึ่งรีพีตเตอร์จะทำการกรองเอาสัญญาณรบกวนออกก่อนแล้วค่อยเพิ่มระดับสัญญาณ จากนั้นจึงส่งออกไป จะเห็นได้ว่าคุณภาพของสัญญาณที่ส่งออกไปจะใกล้เคียงของเดิมที่ส่งมา สัญญาณดิจิทัลมีหน่วยวัดความเร็วเป็นบิตต่อนาที หรือ bit per second (bps) หมายถึง จำนวนบิตที่ส่งได้ในช่วงเวลา 1 วินาที เช่น โมเด็มมีความเร็ว 56 kbps หมายความว่า โมเด็มสามารถผลิตสัญญาณดิจิทัลได้ประมาณ 56,000 บิตใน 1 วินาที
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น