วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

8.โครงสร้างเครื่อข่าย

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

คือ การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารรูปแบบการจัดวางคอมพิวเตอร์ การเดินสายสัญญาญคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย รวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายสามารถทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งตามลักษณะของการเชื่อมต่อหลักได้ดังนี้

1. เครือข่ายแบบบัส (bus topology) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก
ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มี
ข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
ข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของสัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้


2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว(Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย ข้อจำกัด ถ้าฮับเสียหายจะทำให้ทั้งระบบต้องหยุดซะงัก และมีความสิ้นเปลืองสายสัญญาณมากกว่าแบบอื่นๆ
3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันก็จะส่งผ่านไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่
ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
ข้อจำกัด ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย อาจทำให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้

4.โครงสร้างเครือข่ายแบบตาข่าย (Mesh Topology)

Responsive image

โครงสร้างเครือข่ายแบบตาข่าย (Mesh Topology) มีลักษณะคล้ายกับโครงสร้างเครือข่ายแบบดาว(star topology) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบซับซ้อนหลายเส้นทาง ระบบเครือข่ายสามารถเป็นได้ทั้งโครงสร้างตาข่าย แบบสมบูรณ์ (fully mesh) หรือ โครงสร้างตาข่ายแบบบางส่วน (partially mesh) ขึ้นอยู่กับความจำเป็นโครงสร้างเครือข่ายชนิดนี้มีความสมบูรณ์และน่าเชื่อถือแต่อย่างไรก็ตาม การติดตั้งราคาสูงและทำได้ในวงจำกัด

โครงสร้างตาข่ายแบบสมบูรณ์

(Full-Mesh Topology)

โครงสร้างตาข่ายแบบบางส่วน

(Partial-Mesh Topology)

โครงสร้างตาข่ายแบบสมบูรณ์

(Full-Mesh Topology)

เชื่อมต่อกันทุกอุปกรณ์ไปยังอีกเครื่องซึ่งเกินความจำเป็นการใช้โครงสร้างตาข่ายแบบสมบูรณ์มีราคาแพง.

โครงสร้างตาข่ายแบบบางส่วน

(Partial-Mesh Topology)

เครื่องหนึ่งเชื่อมต่อไปยังหลายเครื่องแต่ไม่ใช่ทั้งหมดวิธีนี้ บริษัทร้านค้า จะเลือกว่าจะใช้โหนด หรือเครื่องไหนเชื่อมต่อบ้างเพื่อให้เหมาะสมและคุ้มค่า

ข้อดีและข้อเสียของโครงสร้างเครือข่ายแบบตาข่าย (Advantages and Disadvantages of Mesh Topology)
ข้อดี (Advantages)
ข้อเสีย (Disadvantages)
  • การเชื่อมต่อแต่ละเครื่องสามารถมีการโหลดข้อมูลของตัวเองได้ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาการจราจร
  • มีประสิทธิภาพสูงแม้ต้องโหลดข้อมูลหนักก็ไม่มีผลกระทบ

  • ราคาแพงมาก
  • ยากต่อการติดตั้ง
  • การเชื่อมต่อมากอาจไปสู่ความผิดพลาดในการเชื่อมต่อ
  • การติดตั้งซับซ้อน แต่ละเครื่องจำต้องเชื่อมต่อไปยังทุกเครื่องที่เหลือ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น